วันอาทิตย์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

สีสันบนหน้า story telling วัฒนธรรม สี กับ การแสดง

https://www.facebook.com/RatiSilver
สืบเนื่องจากงานตรุษจีนประเทศไทยแท้ๆเลย
งานนี้เป็นการสานสัมพันธ์ไทยจีนผ่านการเดินทางแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ซึ่งผลจากการโชว์ มีการแพร่ภาพกลับไปที่จีน คนจีนเริ่มสนใจมาเที่ยวและ ช้อปปิ้ง จะว่าไป บางร้านนี่หมดเลยนะ แค่นักแสดงก็กวาดเรียบ
กลับมาที่มีการแสดงอุปรากร ซึ่งก็มีการแต่งตาตามสไตล์จีน ที่น่าจ้องเอาจริงๆจังๆ เพราะในใจเราคิดว่า ลายที่ปรากฏต้องบอกเป้าหมายที่ระบายผ่านสี ก็เหมือนกับการทาหน้า ใส่หน้ากากไทยล่ะ ว่าไปหน้ากากมีเรื่องเล่าทั้งโลก เพราะเขาต้องกำลังจะบอกอะไรซักอย่างแน่ๆ และพบว่าโลกนี้มีวัฒนธรรมหน้ากากและระบายสีหน้าไปทั่วโลก สืบมาทางชุมชน พิธีกรรม แลอื่นๆ
จากหน้ากาก หัวโขน มาถึงระบายสีหน้าละครโนห์ และงิ้ว ประเทศไหนหลงเข้ามาเมืองไทย เราเป็นใช้จุดน่าสนใจของเขามาอยู่ในการละเล่นหรือ หรือ คำเปรียบเทียบ ไปถึงพังเพย อย่างยิบย่อยเลยทีเดียว นี่เป็น ไท๊ยไทย ที่ ฝังในสันดาน จนลืมตัวกันหลายคน แม้จะไปชุบตัวหรือสเปรย์ฉาบมาฟุดฟิด มันก็แพลมๆออกมาภายใต้เสื้อสูทหนังกลับ เอ๊ยหนังฟอกล่ะจ้ะ
ในวงการแสดง ตามธรรมเนียมการแสดง ต้องมี อารัมภบท หรือ หน้าม่าน เพื่อเรียกเเขก เล่าเรื่องที่มา หรือ บางที จะเห็นเป็นป้ายบอกองก์ที่จะเกิดขึ้น ของเราจะเริ่ม แบบ อินโทร บอดี้ ไคลซแมกส์ ซึ่ง คือ ออกแขก ออกโรง ออกยักษ์ออกโขน ออกงิ้ว เป็นเรื่องครบรส พี่ไทยจับเพื่อน แขก และ จีน (งิ้ว) เอามาใส่ในความหมายต่างกัน น่าจะดูจาก เอกลักษณะการแสดงออกแบบรวบยอด เช่นว่า ถ้า ออกแขก  จะพบการใช้กับการเริ่มแสดงลิเก  ที่จะมาบอกว่า มาจ๊ะเชิญมาจะเริ่มเล่นละ คนแสดงต้องร้องเพลงเป็นเอกลักษณ์ทำนองแขก แต่งตัวเป็นหนุ่มหรือแก่แขก(ใครบอกทีว่าต้องหนุ่มหรือแก่) แล้วมีโพกผ้า  หรือสวมหมวกหนีบแบบแขก  และร้องเพลง  ลงท้ายว่าอันเลวังกา  เร่เข้ามา  มาดูลิเก  เฮเอาเป็นว่ารู้ว่าร้องแบบนี้ เรียกว่า.ออกแขก 
พอขับออกแขก จะมีตัวชูรส แล้วก็ตัวชูโรง  ห้วงนี้เรียกว่า ออกโรง เป็นช่วงเน้นมีความเข้มข้น ใครแสดงช่วงนี้ แสดงว่าเด่น สำคัญ แต่ ออกโรงมีความหมาย  ว่าออกมาช่วยเหลือ  (ตอนแรกจะไม่ออกหน้า พอถึงเวลาสำคัญ จะเป็นผู้กล้ามาช่วยเหลือ ) อีกนัยนึง ออกโรงไม่ค่อยจะดี เช่น เวลาใครมาพูดว่าแหม  ออกโรงมาช่วยเหลือเชียวนะ ให้ความรู้สึกว่ามาปกป้องพวกพ้อง
ส่วนอากัปกิริยา ที่ออกยักษ์  ออกโขน  หมายถึง  อากัปกิริยา  ที่เสียงดังแบบเล่นโขนตอนที่ยักษ์  ในโขนเรื่องรามเกียรติ์จะออกมาแสดง  เสียงจะดังมาก  เพราะยักษ์  มีอิทธิฤทธิ์   ใช้เปรียบเทียบ  เวลาที่คนมีอารมณ์โกรธ  ก็จะแสดงออกยักษ์ออกโขนเสียงดังออกมาให้คนอื่นได้รู้ว่า.โกรธมาก ออกยักษ์ออกโขน  .มีความหมายค่อนข้างติดลบ  ที่ทำอะไรวางอำนาจเหมือนพวกยักษ์  ที่คิดแต่จะข่มเหงมนุษย์(แต่ทศกัณฑ์ ทำไมน่ารัก) 

ส่วนคำสุดท้าย  ก็ ออกงิ้ว  งิ้ว  เป็นศิลปะการแสดงของชาวจีน  เสียงจะดังมาก  จึงใช้เปรียบเทียบเวลาที่คนมีปากเสียงกัน  เสียงดังมาก ไม่รู้เรื่องไม่มีใครฟังใคร 
จากหน้า ที่ระบายสี ตามลักษณะไทย โขน ญี่ปุ่น โนห์ จีน งิ้ว
ลองดูที่งิ้วเพราะง่ายสุด ให้หน้าหนึ่งๆ สามารถมีสีอื่นผสมผสานอยู่ด้วยกัน ก็จะแสดงให้เห็นถึงลักษณะนิสัยว่าเป็นคนอย่างไรบ้าง แต่จะมีสีหลักๆ ที่แสดงถึงจุดเด่นของตัวแสดง
สีแดง    ความจงรักภักดีซื่อสัตย์และกล้าหาญ เช่น กวนอู
สีดำ   ความฉลาดเฉลียว และ  ซื่อตรงมากๆ เช่น เปาบุ้นจิ้นสีน้ำเงิน คนที่แข็งกร้าว และเจ้าเล่ห์แสนกล สีเขียว ผู้กล้าเป็นวีรบุรุษ ลักษณะคนที่มีความหนักแน่นสีเหลือง หมายถึง   คนที่มีอารมณ์รุนแรง สีขาว โดยสีขาว มักจะหมายถึงคนชั่วร้าย ทรยศหักหลัง และขี้ระแวง เช่น โจโฉสีเงิน   สีทอง เทพเจ้า หรือผู้มีบทบาทของเทพที่แปลกพิสดาร เช่น ซุนหงอคง
สีแดง  หมายถึง หญิงสาว สีฟ้าอ่อน   หมายถึง อารมณ์หุนหันพลันแล่น สีน้ำเงินเข้ม  หมายถึง คนที่มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น สีเขียวอ่อน       หมายถึง ข้าทาส, บริวาร  สีน้ำตาล    หมายถึง คนรับใช้ หรือชาวไร่ชาวนา
ขอบคุณที่มา ค้น จาก วัฒนธรรมญี่ปุ่น ละคร อุปรากร หน้ากาก งิ้ว


ญี่ปุ่นใช้หน้ากากมาอย่างยาวนาน โดยมีจุดประสงค์ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการใช้สำหรับพิธีกรรมทางศาสนา พิธีกรรมตามความเชื่อของท้องถิ่น ได้แก่พิธีกรรมเพื่อการรักษาคนป่วย หรือ พิธีกรรมการเผาศพโดยหน้ากากญี่ปุ่นก็จะมีลักษณะ ประเภท ความหมาย และความเป็นมาที่แตกต่างกันออกไป บางส่วนนั้นมีพัฒนาการมาจากความเชื่อที่สืบต่อกันมา อันได้แก่ความเชื่อในสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติ
 ส่วนละครโนห์ มาจากความพยายามสร้างศิลปะต่างๆ ที่แสดงเอกลักษณ์ของเหล่านักรบ โชกุน ขึ้นมาและหนึ่งในศิลปะที่ว่านั้นก็คือ  โนห์ เดิมเป็นการแสดงพื้นเมืองที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับพิธีทางศาสนา มีการกล่าวไว้ว่า วันหนึ่งนักแสดงโนห์ ได้ถูกเชิญให้ไปแสดงถวาย ต่อโชกุน หลังจากดูจบ โชกุนประทับใจในการแสดงมาก จึงให้การสนับสนุน ตั้งแต่นั้นมา
ผู้ที่ให้กำเนิด โนห์ ก็คือ คันอะมิ และต่อมาลูกชายของเขา คือ เซะอะมิ ลักษณะพิเศษ ของละครโนห์ ก็คือ หน้ากาก ตัวละครเอก จะสวมหน้ากากซึ่งแกะสลักจากไม้อยู่ตลอดเวลา และไม่เปิดเผยใบหน้าจริงโดยเด็ดขาด
หน้ากากโนห์ จะใช้สีเลียนแบบความหมายที่ชาวญี่ปุ่นเชื่อ และ ใช้จริง เช่น คน หญิง จะขาว คนแก่สีคล้ำ ปีศาจสีเข้าจนถึงปีศาจสีฟ้าตามตำนาน ดังนั้น บนหน้ากากจะแสดงให้เห็นถึง เพศ อายุ ประเภทของตัวละคร และสีหน้าของตัวละครซึ่งอาจจะเป็น หน้ากากปีศาจ ชายหนุ่ม หญิงสาว ชายแก่ หญิงแก่ ตามแต่เนื้อเรื่องส่วนตัวละครตัวรองจะไม่ใส่หน้ากาก จึงจำเป็นต้องใช้ชุดบอกบอกสถานะของตัวละคร เช่น สีขาว  หมายถึง ชนชั้นสูง
ต่อมาละครโนห์ รับการยกย่องขึ้นสู่ชนชั้นสูง ก็น่าจะเมื่อโชกุนครองอำนาจใหญ่กว่า จักรพรรดิ สินะ
ละครโนห์ อาจไม่สามารถเปรียบเทียบว่าเป็น  โขนญี่ปุ่น ความคล้ายกันตรงที่ตัวละครโนห์ใส่หน้ากากเพื่อระบุว่าผู้เล่นนั้น ๆ เป็นตัวละครใด  เหมือนกับโขนที่ใส่หัวโขนที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของตัวละครนั้น ๆ
 แม้จะมีความ ศักดิ์สิทธิ์เน้นสอนปรัชญาขั้นลึกซึ้ง เอาเป็นว่า จะต้องตั้งสติทั้งคนเล่นคนดู ทุกย่างก้าวเลยทีเดียว ส่วนโขนไทยมีรายละเอียด ที่เข้าใจได้ตามอารมณ์ที่ต้องไหลไปตามฉาก และท่วงท่าที่มีความหมาย ไม่ได้ยากเย็นเหมือนบัลเลย์
ละครโนห์จะมีเนื้อเรื่องที่สอนพุทธ โขนซึ่งเน้นเล่นเรื่องรามเกียรติ์แฝงปรัชญา โขนของไทยนิยมเล่นกันในวัง ที่จริงยังมีโขนชัก โขนนอกวังอีก  ส่วนละครโนห์ ก็อย่างที่เล่าข้างต้น 

กลับกัน มีการแสดงอีกชนิดที่มีการระบายสีหน้ากาก เรื่องว่า คาบูกิ นี่เปรียบได้กับลิเก เพราะเน้นเรื่อง สนุก ไม่ยึดอะไรมาก
คาบูกินั้นเกิดขึ้นจากการร้องเพลงร่ายรำพร้อมกับกระดิ่งในพิธีศาสนาของของมิโกะจากศาลเจ้าอิซึโมะ สร้างความแปลกใจให้คนเข้าศาลเจ้า โดยการสวมชุดดำและถือกระดิ่งมีพู่สีแดงสดเต้นและร้องด้วยท่าทีที่แปลกตากว่าปกติ ชาวเมืองโยนเงินลงที่เวทีเป็นจำนวนมากเพื่อบริจาคให้กับศาลเจ้า และการแสดงครั้งนี้จึงถือเป็นต้นกำเนิดคาบูกิ ต่อมามีปัญหานิดหน่อยเรื่องเหมาะไม่เหมาะ การแสดงเลื่อนไหลมีปัญหาสังคม จนมายุติ ที่ให้ผู้ชายที่โตแล้วแสดงได้เท่านั้นแม้แต่บทที่เป็นตัวละครผู้หญิง  
ในขณะที่ละครโนห์มีบทร้องและการเคลื่อนไหวที่ดูสงบ สง่า มีสมาธิ  ละครคาบุกิจะดูจัดจ้าน มีสีสัน จุดเด่นของคาบูกิคือ ผู้แสดงจะไม่ใส่หน้ากากแต่จะแต่งหน้าจัดจ้านมาก เรียกว่ามีความเป็น  ชาวบ้าน  มากกว่า คือ พ่อค้าชาวเมืองทั่วไป  ได้ดูมากกว่า สำหรับละครคาบุกิไม่ใช้หน้ากาก แต่ใช้วิธีแต่งหน้าด้วยสีสันฉูดฉาดแทน

จบ หมดแรง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

๒๓ มิถุนายน ครบวัฎฎะ

ดาวดารดาษดุจมณิเต็มผืนกำมะหยี่เหนือโพยมสีหมึก สีตลรัศมีที่ฉายเรื่อยอ่อนแสงหายไปหลังเมฆินทร์ เบื้องล่างสายนทีลัดเลาะแผ่นหิน ทุกโค้งคุ้งส...