เหตุผลสำคัญ คือการที่สื่อโฆษณาหลักต่างๆ มีราคาแพงขึ้น โฆษณาทางโทรทัศน์ที่มีราคาแพงขยับราคาสูงขึ้นเฉลี่ย 10-15% ทุกปี สื่อวิทยุมีค่ายต่างๆ ทุ่มเงินประมูลเช่าคลื่น เนื่องจากโดยธรรมชาติแล้วสื่อเหล่านี้สามารถเข้าถึงประชาชนได้ใกล้ชิด
จึงมีคนระเเวงวิธีการวัดผล เพื่อหาว่าสื่อเจาะเข้ากลุ่มที่ต้องการหรือไม่ แต่ไม่ค่อยจะสามารถทำได้ชัดเจน ดังนั้นจุดนี้จึงกลายเป็นประเด็นที่ต้องคิดว่า การโฆษณาอย่างไร้ทิศทางหรือไม่ เพราะอาจจะเกิดความสูญเปล่าตามมา เจ้าของสินค้า(product ท่องเที่ยว กิจกรรม ฯ) จึงวางแผนการใช้งบประมาณทางการตลาดเสียใหม่ เพื่อทำให้การใช้เงินทุกบาทเข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างแท้จริง แต่ปัญหาของนักการตลาดคือประชาชนบางส่วนอาจจะไม่ใช่ลูกค้าเป้าหมาย การจัดงานแบบมวยวัด หรือเดาสุ่มในสถานะผิดพื้นที่ ผิดเวลา กลุ่มเป้าหมายจึงมีสิทธิเกิดขึ้นได้
·
จากเหตุผลข้างต้นปัจจุบัน
กิจกรรมระดับชาติต่างๆ จึงให้ความสนใจหันมาทำการตลาดเชิงกิจกรรมแบบ integrated
marketing communication หรือใช้การโฆษณาร่วมกับการทำตลาดแบบถึงตัวลูกค้า
ทำให้ททท. / TAT Events เข้าถึงผู้บริโภคได้มากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้มีหลากหลายเหตุผลที่สินค้าหันมาให้ความสนใจกับการทำตลาดแบบประชิดตัว
· ข้อดีของการทำการตลาดเชิงกิจกรรม
·
สามารถจัดกิจกรรมได้ตลอดเวลา หมายถึงกำหนดเองได้
จะเป็นการจัดเฉลิมฉลองในวาระต่างๆ การตลาดเชิงกิจกรรมในปัจจุบันสามารถกระจายการจัดไปตามสถานที่ต่างๆ
หลายจุดพร้อมกันได้ ·
การดำเนินการตลาดเชิงกิจกรรมจะสามารถใช้ให้ผลอย่างดียิ่ง
ต้องมีความคิด เรื่องศิลปะ ประเพณี วัฒนธรรม แต่ไม่ใช่การแก้วัฒนธรรมแก้ประเพณีดั้งเดิม หรือรจัดทำขึ้นอย่างผิดๆ เข้าใจกันผิดๆเป็นเรื่องของความสะเพร่า ขาดความเข้าใจ
ขาดการศึกษา เอาแต่ฉาบหน้า เป็นบุคลิกคนบางคนที่สะท้อนออกมาแล้วแก้ไขความเสื่อมเสียยากมาก
การตลาดเชิงกิจกรรมที่กล้าคิดมากๆแล้วคัดจุดนำเสนอที่ไม่ซ้ำใคร
หรือเลือกความเด่นในมุมมองใหม่ อาจเป็นเรื่องเดิมก็ได้ และเสนอผ่านมิติใหม่
เป็นการเสนอเอกลักษณ์ชัดๆแต่วิธีสื่อต่างจากเดิม มีประโยชน์มีหลายประการ
ควบคู่ไปกับการทำโปรโมชั่น ที่เหมาะสม จึงจะตอบโจทย์
และใช้ประโยชน์จากการสื่อสารมวลชนได้ เมื่อ
1.
กิจกรรมนั้นต้องน่าสนใจ
จึงเป็นจุดให้สื่ออยากนำเสนอ (บางยุคต้องใส่เงินด้วยจะน่าสนใจได้)
2.
เกิดการเผยแพร่ในสื่อต่างๆ
โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
3.
ทำให้ได้กลุ่มลูกค้าเป้าหมายชัดเจน
o
กลยุทธ์นี้นอกจากสื่อมวลชนจะเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ฟรีแล้ว
ยังช่วยสร้างความน่าเชื่อถือได้ดีอีกด้วย
หากเชิญสื่อมวลชนไปเยี่ยมชมงานหรือโรงงานหรือกิจกรรม
·
กิจกรรมที่จัดอย่างต่อเนื่องย่อมช่วยสร้าง “บุคลิกภาพของหน่วยงาน องค์กร=ททท. / TAT
Events ” (Brand Personality)"
·
การตลาดเชิงกิจกรรมเป็นกลยุทธ์การตลาดที่ได้ผลทั้งในด้านการสร้างการรับรู้ของททท. / TAT Events และการสร้างยอดการเดินทาง ยอดรายได้ ยอดการรับรู้ หากมีการจัดการส่งเสริมการขายพร้อมกันด้วย จึงเป็นการใช้งบประมาณด้านการตลาดที่ได้ผลกว่าการทำประชาสัมพันธ์ หรือการโฆษณา ทั้งนี้
มีปัจจัยประกอบคือ
o
1. กิจกรรมที่เลือกจัด
ต้องมีลักษณะสอดคล้องกับบุคลิกภาพของททท.
/ TAT Events
o
2. ชื่อของกิจกรรมที่จัด
ต้องมีชื่อของททท. / TAT Events ร่วมอยู่ด้วย
o
3. เครื่องหมายและสัญลักษณ์ของกิจกรรม ต้องมีโลโก้ของททท. / TAT
Events ร่วมอยู่ด้วย
o
4. ต้องมีป้ายหรือโลโก้ของททท. / TAT Events ในบริเวณงานอย่างทั่วถึง
o
5. ควรมีสัญลักษณ์ประจำงาน
(Mascot) เพื่อสร้างความสะดุดตา คึกคัก เป็นที่น่าสนใจ
o
6. ควรเชิญสื่อมวลชนมาร่วมงานมากๆ
o
7. ต้องมีการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ อย่างเพียงพอ ทั้งก่อนและหลังการจัดกิจกรรม
o
8. ควรเชิญผู้มีชื่อเสียงหรือผู้ที่สังคมส่วนใหญ่รู้จักมาร่วมกิจกรรมในงาน
เช่น ดารา นักร้อง นักกีฬา ที่มีชื่อเสียง
o
9. ควรใช้ร่วมกับเครื่องมือการสื่อสารการตลาดอื่นๆ
·
·
อีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้การตลาดเชิงกิจกรรมได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วเนื่องมาจากการที่ลูกค้าหรือผู้บริโภคในปัจจุบันมีความแตกต่างกันมากขึ้น
ทั้งในรสนิยม กิจกรรม รวมถึงวิธีการรับสื่อ ทำให้ลูกค้าแต่ละกลุ่มต่างมีความต้องการหรือพฤติกรรมที่แตกต่างกันออกไปมากขึ้น
อีเว้นท์หรือกิจกรรมจึงเข้ามาทำหน้าที่ตรงนี้แทน
การมีส่วนร่วม
ทัศนคติ น่าจะนำมาใช้ในการวิเคราะห์การตัดสินใจซื้อ ความภักดีต่อททท. / TAT Events ของผู้บริโภค
ที่มีต่อสินค้าความเกี่ยวพันสูงและสินค้าความเกี่ยวพันต่ำ
ที่มีการจัดการตลาดเชิงกิจกรรม
· การมีส่วนร่วมกับการตลาดเชิงกิจกรรม
มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภค
(ดังนั้น ห้ามลืมเด็ดขาดคือความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของงานที่จัดขึ้น
การสร้างความรู้สึกนี้เกิดขึ้นได้ โดยคนที่จัดต้องมีความรู้ด้านนี้จริง
ไม่ใช่จ้างออการ์ไนซ์มา หรือ พิมพ์คำว่าส่วนร่วมแปะทางเดิน)
·
·
หากแต่การทำการตลาดเชิงกิจกรรมให้เกิดประโยชน์สูงสุดไม่ใช่เพียงความเหมาะสมหรือสอดคล้องกับรสนิยมหรือความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
และตรงกับเรื่องที่ต้องการสื่อออกไปเท่านั้น
การจัดการตลาดเชิงกิจกรรมจึงต้องมีการวางแผนอย่างเป็นขั้นเป็นตอนด้วย
มีความจำเป็นจะต้องวางกลยุทธ์ให้ดีเพื่อให้สามารถสร้างประโยชน์กลับมาในเชิงการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ดีที่สุด มากกว่าจัดให้จบๆ (ซึ่งอาจจะเป็นวัตถุประสงค์หนึ่งก็ได้)
·
·
การใช้การตลาดเชิงกิจกรรมเพื่อเจาะกลุ่มลูกค้านับวันจะแพร่หลาย
แต่ปัญหาที่จะต้องพิจารณาและวางแผนอย่างรอบคอบ คือการสร้างการตลาดเชิงกิจกรรมให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าและสามารถเผยแพร่ข่าวสารแก่คนส่วนใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
·
การทำกิจกรรมอาจจัดขึ้นเพื่อสร้างการรับรู้เกี่ยวกับ
“ททท. / TAT Events ” (Brand
Awareness) เพียงอย่างเดียวหรือเพื่อส่งเสริมการขายไปพร้อมกันก็ได้
ที่สำคัญคือต้องเตรียมพนักงานผู้รับผิดชอบไปให้พร้อมและพอเพียง
(ระบบการจจัดจ้างปัจจุบัน อาจไม่รองรับการทำงานที่มีคุณภาพมากนัก
เพราะเน้นเรื่องนับหลอดไฟ จำนวนเก้าอี้ โครงสร้าง พอถึงงานที่เป็นหัวใจหลัก การให้คนทำงานจริง
ไม่อนุญาตให้มีงบทำ ทุกสิ่งให้ใช้ราคาต่ำๆ)
การตลาดเชิงกิจกรรมที่ดีจะต้องมีการประสานงานกันระหว่างฝ่ายการตลาด และฝ่ายประชาสัมพันธ์ ต้องวางขั้นตอนและกระบวนการของกิจกรรมก่อนงาน ระหว่างงาน และภายหลังงานเพื่อสร้างความพึงพอใจและสร้างความจดจำในททท. / TAT Events ต่อผู้บริโภคอย่างยั่งยืน และในขณะเดียวกันต้องบรรลุเป้าหมายของการจัดงานที่วางไว้ตอนต้นจึงจะถือได้ว่าเป็นการทำการตลาดเชิงกิจกรรมอย่างเหมาะสม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น