นางเป็นผู้ประดิษฐ์ “โคมลอยรูปดอกกระมุท” หรือกระทงอย่างที่เรารู้จักกัน
และ
นำไปถวายพระร่วงเจ้าเพื่อลอยในแม่น้ำอุทิศสักการบูชาพระจุฬามณีเจดีย์
เนื่องในพระราชพิธีจองเปรียง
หากว่าหลักฐานที่ใช้อ้างอิงคือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ได้รับการพิสูจน์ว่าแต่งขึ้นในสมัยสุโขทัยจริง
แม้ว่าจะไม่อาจพิสูจน์ได้ว่านางนพมาศมีตัวตนจริงหรือไม่
แต่ก็เชื่อได้ว่ามีประเพณีการลอยกระทง
นักประวัติศาสตร์พระองค์แรกที่ออกมาถกเถียงประเด็นนี้คือ
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงวินิจฉัยจากเนื้อความที่ปรากฏอยู่ในตำรับฯ
ว่ามีหลายตอนไม่สอดคล้องกับยุคสมัยสุโขทัย
ข้อความในศิลาจารึกหลักที่
1 ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชที่มีคำว่า “เผาเทียน” และ “เล่นไฟ” ซึ่งเป็นการกระทำเพื่อบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ มิใช่เป็นการละเล่นรื่นเริง
สุโขทัยตั้งอยู่บริเวณที่ราบเชิงเขา
ระยะทางห่างจากแม่น้ำเกินกว่า 10 กิโลเมตร ทำให้มีปัญหาขาดแคลนน้ำในหน้าแล้ง
ทำให้ต้องมีการจัดการระบบชลประทานโดยการขุดตระพังและสร้างทำนบกั้นน้ำที่เรียกว่า “สรีดภงส”
ตามข้อความในจารึกว่า “กลางเมืองสุโขทัยนี้มีน้ำตระพังโพยสีใสกินดี...ดั่งกินน้ำโขงเมื่อแล้ง”
ปัจจุบันยังคงมีความเชื่อดังกล่าวอยู่และถูกผลิตซ้ำตลอดเวลา
เห็นได้ชัดคือ ประเพณีลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟที่สุโขทัย
ซึ่งเป็นความพยายามสร้างประวัติศาสตร์และความเก่าแก่ของวัฒนธรรมประเพณีของไทย
เพื่อวัตถุประสงค์ในด้านการท่องเที่ยว
*********************************
พระราชพิธีลอยกระทงเป็นสิ่งที่มีอยู่ในสมัยรัชกาลที่
๓ นับเป็นประเพณีที่โอ่อ่าและโดดเด่นทางสังคม พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่าสิ้นเปลือง
จึงให้เลิกรูปแบบนั้นเสีย แต่ทรงสร้างรูปแบบใหม่ขึ้นมาแทน คือโปรดฯ
ให้สร้างเป็นเรือลอยพระประทีปขึ้นมาแทน เป็นเรือเล็กๆ จำลองจากขบวนเรือพระที่นั่ง
เพื่อจุดประทีปลอยตามลำน้ำในวันลอยกระทงแทน
เพราะหลังวันงานแล้วยังเก็บไว้ใช้ลอยในปีต่อ ๆ ไปได้ ประเพณีนี้เพียงคลายจากการเป็นพระราชพิธีในราชสำนักมาเป็นพิธีราษฎร์โดยทั่วไปแทน
จึงได้มีการสืบเนื่องเรื่อยมา แล้วมาฟื้นฟูกันอีกแต่สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม!!!!!
***
ประเพณีลอยกระทงได้รับการฟื้นฟูและพัฒนาให้เกิดมีหลากหลายรูปแบบและเละเรื่อยลืมที่มา
แต่ธุรกิจได้เปลี่ยนแปลงให้เป็นสินค้าเพื่อการท่องเที่ยว
สังคมในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง
ตั้งแต่พระนครศรีอยุธยามาจนถึงกรุงเทพฯ
คือสังคมที่พัฒนาขึ้นในบริเวณลุ่มน้ำลำคลองของดินดอนสามเหลี่ยมใหม่ (young delta) ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ๒๐ ลงมา โดยมีอยุธยาและกรุงเทพฯ เป็นราชธานี
การดำรงชีวิตของคนส่วนใหญ่ขึ้นกับน้ำในแม่น้ำลำคลองที่มีอิทธิพลทั้งในด้านการคมนาคม
การอยู่อาศัย และการทำมาหากิน
ทำให้เกิดความเชื่อในเรื่องน้ำและแสดงออกด้วยการมีประเพณีพิธีกรรมที่เกี่ยวกับน้ำในรอบปีอย่างโดดเด่น
เกิดพระราชพิธีสนามทางน้ำขึ้นในท้องน้ำที่มีการกำหนดขอบเขตไว้อย่างชัดเจน
คือพระราชพิธีเสี่ยงน้ำในเดือนสิบเอ็ด พระราชพิธีส่งน้ำในเดือนสิบสอง
และพระราชพิธีไล่น้ำในเดือนอ้าย หรือเดือนหนึ่ง
พระราชพิธีในเดือนสิบเอ็ด
เป็นการแข่งเรือระหว่างพระมหากษัตริย์และพระมเหสี เป็นการเสี่ยงทาย
ถ้าหากว่าเรือพระมหากษัตริย์ชนะ ปีนั้นการเพาะปลูกไม่ได้ผลดี
แต่ถ้าเรือพระมเหสีชนะ ก็จะมีความอุดมสมบูรณ์
พระราชพิธีเดือนสิบสอง
พระมหากษัตริย์เสด็จลงเรือพระที่นั่งออกไปส่งน้ำเพื่อให้น้ำลดลง
ในขณะที่พระราชพิธีเดือนอ้ายเป็นการเสด็จไปทำพิธีไล่น้ำ
เพื่อให้ลดลงไปก่อนที่จะท่วมต้นข้าวให้ตาย
พระราชพิธีเดือนสิบสอง
คือพิธีส่งน้ำนั้นแหละคือต้นเค้าของการลอยกระทง เพราะน้ำจะขึ้นเต็มที่ในวันเพ็ญเดือนสิบสอง อันเป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวง
นับเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นเพียงครั้งหนึ่งในรอบปี ทำให้คนโบราณนำไปเกี่ยวพันกับการเป็นเวลาศักดิ์สิทธิ์
ในเดือนนี้
นอกจากมีพิธีส่งน้ำแล้ว
ก็ยังมีพระราชพิธีจองเปรียงลดชุดลอยโคม อันเป็นพิธีพราหมณ์รวมอยู่ด้วย
ดังนั้น
ถ้ามองจากรูปแบบที่เป็นพิธีส่งน้ำและจองเปรียงแล้ว
ก็แลไม่เห็นว่าจะมีพิธีลอยกระทงกันตรงไหน
พระราชพิธีเดือนสิบสองนี้
เมื่อเปรียบเทียบกับพิธีเดือนสิบเอ็ดและพิธีเดือนอ้ายแล้วมีภาษีกว่า
เพราะมีปรากฏการณ์ธรรมชาติทั้งในเรื่องน้ำและเวลากลางคืน
อันสว่างไสวไปด้วยพระจันทร์เต็มดวง ที่เป็นพลังงานธรรมชาติกระตุ้นความสุขและความยินดี
จึงทำให้เป็นประเพณีที่ต่อเนื่องและแพร่หลายได้ดี
ในพระราชนิพนธ์เรื่อง
พระราชพิธีสิบสองเดือน ของรัชกาลที่ ๕
ทรงกล่าวถึงว่ามีหลักฐานการเสด็จลงเรือพระที่นั่งของพระมหากษัตริย์ในสมัยอยุธยาตอนปลาย
ซึ่งเข้าใจว่าคือสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ ทรงพระภูษาสีขาวเงิน
ประทับเรือพระที่นั่งเสด็จไปตามลำน้ำพร้อมด้วยข้าราชบริพารฝ่ายหน้าและฝ่ายใน
เพื่อไปทำพระราชพิธีส่งน้ำในวันเพ็ญเดือนสิบสอง
พระราชพิธีในสมัยอยุธยาตอนปลายนี้คงคลายความเชื่อในเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ตามคติของศาสนาพราหมณ์ที่มีในสมัยอยุธยาตอนต้นไปมากแล้ว
คงให้ความสำคัญกับเรื่องความสนุกรื่นเริงเป็นเรื่องใหญ่
ซึ่งก็เป็นการเปลี่ยนแปลงจากการตอบสนองความต้องการในด้านจิตใจมาเป็นกิจกรรมทางสังคม
แต่พอทางราชการในสมัยรัชกาลที่
๔ เห็นว่าเป็นการฟุ่มเฟือย และโปรดฯ ให้เรือประทีปมาลอยแทน ที่ทรงเห็นว่าพระราชพิธีในสมัยรัชกาลที่
๓ นั้นสิ้นเปลือง เลยทรงคิดรูปแบบพระราชพิธีแบบประหยัดขึ้นมา หากแต่การลอยกระทงครั้งรัชกาลที่
๓ นั้นได้กลายเป็นสิ่งที่รับรู้กันในสังคม ทำให้เกิดการทำตามอย่างในวัง ในบรรดาราษฎร ละเรื่อยไปตามท้องถิ่นในลุ่มน้ำลำคลองทั่วไป
โหนพิธีหลวงเปลี่ยน มาเป็นพิธีราษฎร์
คือผู้คนที่เป็นประชาชนไปเล่นลอยกระทงกันเองตามที่ต่าง ๆ
เทศกาลลอยกระทงในประเพณีราษฎร์อาจมีรูปแบบที่แตกต่างกันไปตามท้องถิ่น
แต่ก็ยึดปรากฏการณ์ธรรมชาติในช่วงเวลาที่น้ำขึ้นถึงขีดสุดในวันเพ็ญเดือนสิบสองว่าเป็นปรากฏการณ์ที่ศักดิ์สิทธิ์เหมือนกัน
เพราะเป็นเวลาที่ปัจเจกบุคคลแต่ละคนจะอธิษฐานขอพรสิ่งนอกเหนือธรรมชาติให้พาเอาความทุกข์โศกโรคภัยออกไป
แล้วนำสิ่งที่เป็นความสุขและความสวัสดิมงคลมาให้ เป็นกิจกรรมทางสังคมที่เชื่อมความสัมพันธ์ทางสังคมของบรรดาผู้คนที่อยู่ในหมู่เหล่าชุมชนในท้องถิ่นเดียวกัน
ครั้งรัชกาลที่
๔ ประเพณีหลวงหมดไป พอสมัยรัชกาลที่ ๕ ไม่มีงานแบบนี้นัก แต่ราษฎรเฟื่อง
เอาอย่างเอาบ้างกันต่อไปส่วนหนึ่งกลายเป็น Center point ความสัมพันธ์ของสังคมของผู้คนในท้องถิ่น แต่ด้วยวิถีที่ยังงามจึงสามารถจรรโลงทั้งความมั่นคงทางจิตใจ ซึ่งก็เป็นตามแต่บุคคล
เมื่อยังเป็นเด็ก
เราอ่านกันและได้รับการสอนว่า การลอยกระทงนั้นคือการขอขมาพระแม่คงคาผู้มีพระคุณ
ขอขมาจากการขับถ่ายสิ่งสกปรกลงในน้ำ นั่นก็ดูดี ส่วนกาขอสะเดาะเคราะห์ให้สิ่งเลวร้ายทั้งหลายลอยพ้นตัวไป
นั้น ดูจะเป็นการสรุปกระด้างไปหน่อย
ด้วยความมีเคราะห์ใดๆเราสลัดเองไม่ได้เพราะไม่รู้เคราะห์มาจากไหน
จึงขอให้พระแม่คงคาช่วยโดยมีสายชีวิตเราส่วนหนึ่งเป็นหลักฐาน เช่น ปลายผม
ปลายเล็บมือ ส่งไปกับพระแม่คงคาพอเป็นพิธี แล้วในเวลากลางดึก
ตอนน้ำขึ้นสูงสุดและทรงตัวอยู่ชั่วขณะหนึ่งก่อนที่จะลดลงนั้น
ก็ให้สวดมนต์ขอพรและตักน้ำนั้นมาล้างหน้าหรือชำระล้างร่างกายให้บริสุทธิ์ (purification rite)
จะเชื่อจะทำหรือไม่ก็ตามที
การลอยกระทงของชาวบ้านนั้นมีความหมายทางสังคมมาก มากกว่าแค่โชว์สิบห้านาทีถ่ายภาพแล้วเช็คอิน
เพราะในสังคมการเดินทางทางน้ำหรือทางเท้าก็ตาม มันเป็นเวลาแห่งการรอคอยที่จะได้พบปะผู้คนที่รู้จักและไม่รู้จัก
เพื่อสร้างความสัมพันธ์เก่าและใหม่ ทุกคนอยากแต่งตัวสวยงาม มีส่วนรวมในการทำพิธีกรรม
ทุกคนอยากไปดูการมหรสพ โดยเฉพาะหนุ่มสาวนั้นก็พอใจไปกับการเกี้ยวพาราสี
อธิษฐานเสี่ยงทายในเรื่องของความรักและอนาคต
ครั้นถึงสมัยกรุงเทพฯ
ปัจจุบัน หัวก้าวหน้าตัดความสัมพันธ์ทางสังคมมิตรภาพมาเป็นการค้า ความเชื่อในเรื่องความศักดิ์สิทธิ์แม้น้อยลง
แต่ก็ความทรงพลังในรูปแบบการลอยกระทงที่เป็นศิลปวัฒนธรรมแทน มาจนถึง ยุควัตถุนิยมหัวก้าวหน้ามาเพิ่มความสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมแทน
จึงเกิดรูปแบบใหม่ที่เน้นความสนุกสนานทางโลก ที่ไร้วัฒนธรรมและขาดศิลปะ
อย่างไรก็ดี
เมื่อการค้ามาจับประเพณีมันก็อดชายแบบสินค้าไม่ได้ เมื่อนักธุรกิจมานั่งทำแผนเศรษฐกิจของชาติ
รายได้ก็มาจากการขายทุกอย่างที่ไม่ใช่เงินลงทุนส่วนตัว
กลับกลายเป็นวาทะที่ครั้งหนึ่ง กล้ากล่าวว่าการท่องเที่ยวคือการค้าที่ไม่มีต้นทุน
ประเพณีกลายเป็นประเวณี แม้วันนี้ใครจะมีตำแหน่งลอยเหนือการแตะต้องก็ตามที และงานลอยกระทงกลายเป็นงานแสดงแบบนำเอาวัฒนธรรมของผู้คนในสังคมมาขายให้กับนักท่องเที่ยวที่มาจากภายนอก
เป็นงานรื่นเริงแก่ผู้คนภายในที่ไม่มีหัวนอนปลายตีน
มาปลดปล่อยและระบายสิ่งสารพัดของความหยาบคายอันเป็นอาจมของมนุษย์ชาติ เข้ามาในชุมชนทั้งจริงทั้งเสมือนจริง
วันนี้ก็น่าลอยสวะความคิด ก้อนไขมันเทาๆในกะโหลกไปใส่กระทงใหญ่ๆ
ว่าแต่ทะเลที่ไหนอยากจะรับบ้าง
|
วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
นางผู้ประดิษฐ์ “โคมลอยรูปดอกกระมุท เผาเทียนเล่นไฟ กับ ประเพณีที่หายไปเหลือแค่วัฒนธรรม บางที่วัฒนธรรมก็มาจากประเพณีที่เสื่อมหายไป และวัฒนธรรมที่ขาดศิลปะ ก่อเกิดการค้าสิ่งเสมือนศิลปะคล้ายวัฒนธรรม ใกล้. ประเ(ว)พณี
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
๒๓ มิถุนายน ครบวัฎฎะ
ดาวดารดาษดุจมณิเต็มผืนกำมะหยี่เหนือโพยมสีหมึก สีตลรัศมีที่ฉายเรื่อยอ่อนแสงหายไปหลังเมฆินทร์ เบื้องล่างสายนทีลัดเลาะแผ่นหิน ทุกโค้งคุ้งส...
-
นิทาน grime ฉบับเดิม โหดสัส ตัดใจไม่ให้ลูกอ่านแต่ขออ่านเอง ๕๕ เรื่องของเรื่องคือที่มาของนิทานเป็นเรื่องที่เล่าปากต่อปาก แพร่หลายอย...
-
มิดเดิลเอิธเป็นส่วนหนึ่งของโลกที่เรียกว่าอาร์ดา(โลก) บางตำราก็บอกว่าอาร์ดาเป็นระบบดาว โดยทางเหนือของมิดเดิลเอิธคืออังมาร์ของราชาภูต ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น