วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

"Proud Mary"



"Proud Mary" Left a good job in the city, Workin' for the man ev'ry night and day, And I never lost one minute of sleepin', Worryin' 'bout the way things might have been. Big wheel keep on turnin', Proud Mary keep on burnin', Rollin', rollin', rollin' on the river. Cleaned a lot of plates in Memphis, Pumped a lot of 'pane down in New Orleans, But I never saw the good side of the city, 'Til I hitched a ride on a river boat queen. Big wheel keep on turnin', Proud Mary keep on burnin', Rollin', rollin', rollin' on the river. Rollin', rollin', rollin' on the river. If you come down to the river, Bet you gonna find some people who live. You don't have to worry 'cause you have no money, People on the river are happy to give. Big wheel keep on turnin', Proud Mary keep on burnin', Rollin', rollin', rollin' on the river.

วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

นางผู้ประดิษฐ์ “โคมลอยรูปดอกกระมุท เผาเทียนเล่นไฟ กับ ประเพณีที่หายไปเหลือแค่วัฒนธรรม บางที่วัฒนธรรมก็มาจากประเพณีที่เสื่อมหายไป และวัฒนธรรมที่ขาดศิลปะ ก่อเกิดการค้าสิ่งเสมือนศิลปะคล้ายวัฒนธรรม ใกล้. ประเ(ว)พณี


นางผู้ประดิษฐ์ “โคมลอยรูปดอกกระมุท เผาเทียนเล่นไฟ กับ ประเพณีที่หายไปเหลือแค่วัฒนธรรม  
บางที่วัฒนธรรมก็มาจากประเพณีที่เสื่อมหายไป และวัฒนธรรมที่ขาดศิลปะ ก่อเกิดการค้าสิ่งเสมือนศิลปะคล้ายวัฒนธรรม ใกล้. ประเ(ว)พณี

……………..

abhirati.seeb
02/09/61



นางเป็นผู้ประดิษฐ์ โคมลอยรูปดอกกระมุท หรือกระทงอย่างที่เรารู้จักกัน
และ นำไปถวายพระร่วงเจ้าเพื่อลอยในแม่น้ำอุทิศสักการบูชาพระจุฬามณีเจดีย์ เนื่องในพระราชพิธีจองเปรียง
หากว่าหลักฐานที่ใช้อ้างอิงคือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ได้รับการพิสูจน์ว่าแต่งขึ้นในสมัยสุโขทัยจริง แม้ว่าจะไม่อาจพิสูจน์ได้ว่านางนพมาศมีตัวตนจริงหรือไม่ แต่ก็เชื่อได้ว่ามีประเพณีการลอยกระทง
นักประวัติศาสตร์พระองค์แรกที่ออกมาถกเถียงประเด็นนี้คือ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงวินิจฉัยจากเนื้อความที่ปรากฏอยู่ในตำรับฯ ว่ามีหลายตอนไม่สอดคล้องกับยุคสมัยสุโขทัย

ข้อความในศิลาจารึกหลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชที่มีคำว่า เผาเทียนและ เล่นไฟซึ่งเป็นการกระทำเพื่อบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ มิใช่เป็นการละเล่นรื่นเริง
สุโขทัยตั้งอยู่บริเวณที่ราบเชิงเขา ระยะทางห่างจากแม่น้ำเกินกว่า 10 กิโลเมตร ทำให้มีปัญหาขาดแคลนน้ำในหน้าแล้ง ทำให้ต้องมีการจัดการระบบชลประทานโดยการขุดตระพังและสร้างทำนบกั้นน้ำที่เรียกว่า สรีดภงส
          ตามข้อความในจารึกว่า กลางเมืองสุโขทัยนี้มีน้ำตระพังโพยสีใสกินดี...ดั่งกินน้ำโขงเมื่อแล้ง
ปัจจุบันยังคงมีความเชื่อดังกล่าวอยู่และถูกผลิตซ้ำตลอดเวลา เห็นได้ชัดคือ ประเพณีลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟที่สุโขทัย ซึ่งเป็นความพยายามสร้างประวัติศาสตร์และความเก่าแก่ของวัฒนธรรมประเพณีของไทย เพื่อวัตถุประสงค์ในด้านการท่องเที่ยว
*********************************
พระราชพิธีลอยกระทงเป็นสิ่งที่มีอยู่ในสมัยรัชกาลที่ ๓ นับเป็นประเพณีที่โอ่อ่าและโดดเด่นทางสังคม พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่าสิ้นเปลือง จึงให้เลิกรูปแบบนั้นเสีย แต่ทรงสร้างรูปแบบใหม่ขึ้นมาแทน คือโปรดฯ ให้สร้างเป็นเรือลอยพระประทีปขึ้นมาแทน เป็นเรือเล็กๆ จำลองจากขบวนเรือพระที่นั่ง เพื่อจุดประทีปลอยตามลำน้ำในวันลอยกระทงแทน เพราะหลังวันงานแล้วยังเก็บไว้ใช้ลอยในปีต่อ ๆ ไปได้ ประเพณีนี้เพียงคลายจากการเป็นพระราชพิธีในราชสำนักมาเป็นพิธีราษฎร์โดยทั่วไปแทน จึงได้มีการสืบเนื่องเรื่อยมา แล้วมาฟื้นฟูกันอีกแต่สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม!!!!!

*** ประเพณีลอยกระทงได้รับการฟื้นฟูและพัฒนาให้เกิดมีหลากหลายรูปแบบและเละเรื่อยลืมที่มา แต่ธุรกิจได้เปลี่ยนแปลงให้เป็นสินค้าเพื่อการท่องเที่ยว
สังคมในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ตั้งแต่พระนครศรีอยุธยามาจนถึงกรุงเทพฯ คือสังคมที่พัฒนาขึ้นในบริเวณลุ่มน้ำลำคลองของดินดอนสามเหลี่ยมใหม่ (young delta) ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ๒๐ ลงมา โดยมีอยุธยาและกรุงเทพฯ เป็นราชธานี การดำรงชีวิตของคนส่วนใหญ่ขึ้นกับน้ำในแม่น้ำลำคลองที่มีอิทธิพลทั้งในด้านการคมนาคม การอยู่อาศัย และการทำมาหากิน ทำให้เกิดความเชื่อในเรื่องน้ำและแสดงออกด้วยการมีประเพณีพิธีกรรมที่เกี่ยวกับน้ำในรอบปีอย่างโดดเด่น

เกิดพระราชพิธีสนามทางน้ำขึ้นในท้องน้ำที่มีการกำหนดขอบเขตไว้อย่างชัดเจน คือพระราชพิธีเสี่ยงน้ำในเดือนสิบเอ็ด พระราชพิธีส่งน้ำในเดือนสิบสอง และพระราชพิธีไล่น้ำในเดือนอ้าย หรือเดือนหนึ่ง

พระราชพิธีในเดือนสิบเอ็ด เป็นการแข่งเรือระหว่างพระมหากษัตริย์และพระมเหสี เป็นการเสี่ยงทาย ถ้าหากว่าเรือพระมหากษัตริย์ชนะ ปีนั้นการเพาะปลูกไม่ได้ผลดี แต่ถ้าเรือพระมเหสีชนะ ก็จะมีความอุดมสมบูรณ์

พระราชพิธีเดือนสิบสอง พระมหากษัตริย์เสด็จลงเรือพระที่นั่งออกไปส่งน้ำเพื่อให้น้ำลดลง

ในขณะที่พระราชพิธีเดือนอ้ายเป็นการเสด็จไปทำพิธีไล่น้ำ เพื่อให้ลดลงไปก่อนที่จะท่วมต้นข้าวให้ตาย

พระราชพิธีเดือนสิบสอง คือพิธีส่งน้ำนั้นแหละคือต้นเค้าของการลอยกระทง เพราะน้ำจะขึ้นเต็มที่ในวันเพ็ญเดือนสิบสอง อันเป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวง นับเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นเพียงครั้งหนึ่งในรอบปี ทำให้คนโบราณนำไปเกี่ยวพันกับการเป็นเวลาศักดิ์สิทธิ์

ในเดือนนี้ นอกจากมีพิธีส่งน้ำแล้ว ก็ยังมีพระราชพิธีจองเปรียงลดชุดลอยโคม อันเป็นพิธีพราหมณ์รวมอยู่ด้วย

ดังนั้น ถ้ามองจากรูปแบบที่เป็นพิธีส่งน้ำและจองเปรียงแล้ว ก็แลไม่เห็นว่าจะมีพิธีลอยกระทงกันตรงไหน

พระราชพิธีเดือนสิบสองนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับพิธีเดือนสิบเอ็ดและพิธีเดือนอ้ายแล้วมีภาษีกว่า เพราะมีปรากฏการณ์ธรรมชาติทั้งในเรื่องน้ำและเวลากลางคืน อันสว่างไสวไปด้วยพระจันทร์เต็มดวง ที่เป็นพลังงานธรรมชาติกระตุ้นความสุขและความยินดี จึงทำให้เป็นประเพณีที่ต่อเนื่องและแพร่หลายได้ดี

ในพระราชนิพนธ์เรื่อง พระราชพิธีสิบสองเดือน ของรัชกาลที่ ๕ ทรงกล่าวถึงว่ามีหลักฐานการเสด็จลงเรือพระที่นั่งของพระมหากษัตริย์ในสมัยอยุธยาตอนปลาย ซึ่งเข้าใจว่าคือสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ ทรงพระภูษาสีขาวเงิน ประทับเรือพระที่นั่งเสด็จไปตามลำน้ำพร้อมด้วยข้าราชบริพารฝ่ายหน้าและฝ่ายใน เพื่อไปทำพระราชพิธีส่งน้ำในวันเพ็ญเดือนสิบสอง
พระราชพิธีในสมัยอยุธยาตอนปลายนี้คงคลายความเชื่อในเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ตามคติของศาสนาพราหมณ์ที่มีในสมัยอยุธยาตอนต้นไปมากแล้ว คงให้ความสำคัญกับเรื่องความสนุกรื่นเริงเป็นเรื่องใหญ่ ซึ่งก็เป็นการเปลี่ยนแปลงจากการตอบสนองความต้องการในด้านจิตใจมาเป็นกิจกรรมทางสังคม
แต่พอทางราชการในสมัยรัชกาลที่ ๔ เห็นว่าเป็นการฟุ่มเฟือย และโปรดฯ ให้เรือประทีปมาลอยแทน ที่ทรงเห็นว่าพระราชพิธีในสมัยรัชกาลที่ ๓ นั้นสิ้นเปลือง เลยทรงคิดรูปแบบพระราชพิธีแบบประหยัดขึ้นมา หากแต่การลอยกระทงครั้งรัชกาลที่ ๓ นั้นได้กลายเป็นสิ่งที่รับรู้กันในสังคม ทำให้เกิดการทำตามอย่างในวัง ในบรรดาราษฎร ละเรื่อยไปตามท้องถิ่นในลุ่มน้ำลำคลองทั่วไป
โหนพิธีหลวงเปลี่ยน มาเป็นพิธีราษฎร์ คือผู้คนที่เป็นประชาชนไปเล่นลอยกระทงกันเองตามที่ต่าง ๆ
เทศกาลลอยกระทงในประเพณีราษฎร์อาจมีรูปแบบที่แตกต่างกันไปตามท้องถิ่น แต่ก็ยึดปรากฏการณ์ธรรมชาติในช่วงเวลาที่น้ำขึ้นถึงขีดสุดในวันเพ็ญเดือนสิบสองว่าเป็นปรากฏการณ์ที่ศักดิ์สิทธิ์เหมือนกัน เพราะเป็นเวลาที่ปัจเจกบุคคลแต่ละคนจะอธิษฐานขอพรสิ่งนอกเหนือธรรมชาติให้พาเอาความทุกข์โศกโรคภัยออกไป แล้วนำสิ่งที่เป็นความสุขและความสวัสดิมงคลมาให้ เป็นกิจกรรมทางสังคมที่เชื่อมความสัมพันธ์ทางสังคมของบรรดาผู้คนที่อยู่ในหมู่เหล่าชุมชนในท้องถิ่นเดียวกัน




ครั้งรัชกาลที่ ๔ ประเพณีหลวงหมดไป   พอสมัยรัชกาลที่ ๕ ไม่มีงานแบบนี้นัก แต่ราษฎรเฟื่อง เอาอย่างเอาบ้างกันต่อไปส่วนหนึ่งกลายเป็น Center point  ความสัมพันธ์ของสังคมของผู้คนในท้องถิ่น แต่ด้วยวิถีที่ยังงามจึงสามารถจรรโลงทั้งความมั่นคงทางจิตใจ ซึ่งก็เป็นตามแต่บุคคล
เมื่อยังเป็นเด็ก เราอ่านกันและได้รับการสอนว่า การลอยกระทงนั้นคือการขอขมาพระแม่คงคาผู้มีพระคุณ ขอขมาจากการขับถ่ายสิ่งสกปรกลงในน้ำ นั่นก็ดูดี ส่วนกาขอสะเดาะเคราะห์ให้สิ่งเลวร้ายทั้งหลายลอยพ้นตัวไป นั้น ดูจะเป็นการสรุปกระด้างไปหน่อย ด้วยความมีเคราะห์ใดๆเราสลัดเองไม่ได้เพราะไม่รู้เคราะห์มาจากไหน จึงขอให้พระแม่คงคาช่วยโดยมีสายชีวิตเราส่วนหนึ่งเป็นหลักฐาน เช่น ปลายผม ปลายเล็บมือ ส่งไปกับพระแม่คงคาพอเป็นพิธี แล้วในเวลากลางดึก ตอนน้ำขึ้นสูงสุดและทรงตัวอยู่ชั่วขณะหนึ่งก่อนที่จะลดลงนั้น ก็ให้สวดมนต์ขอพรและตักน้ำนั้นมาล้างหน้าหรือชำระล้างร่างกายให้บริสุทธิ์ (purification rite)
จะเชื่อจะทำหรือไม่ก็ตามที การลอยกระทงของชาวบ้านนั้นมีความหมายทางสังคมมาก มากกว่าแค่โชว์สิบห้านาทีถ่ายภาพแล้วเช็คอิน เพราะในสังคมการเดินทางทางน้ำหรือทางเท้าก็ตาม มันเป็นเวลาแห่งการรอคอยที่จะได้พบปะผู้คนที่รู้จักและไม่รู้จัก เพื่อสร้างความสัมพันธ์เก่าและใหม่ ทุกคนอยากแต่งตัวสวยงาม มีส่วนรวมในการทำพิธีกรรม ทุกคนอยากไปดูการมหรสพ โดยเฉพาะหนุ่มสาวนั้นก็พอใจไปกับการเกี้ยวพาราสี อธิษฐานเสี่ยงทายในเรื่องของความรักและอนาคต
ครั้นถึงสมัยกรุงเทพฯ ปัจจุบัน หัวก้าวหน้าตัดความสัมพันธ์ทางสังคมมิตรภาพมาเป็นการค้า  ความเชื่อในเรื่องความศักดิ์สิทธิ์แม้น้อยลง แต่ก็ความทรงพลังในรูปแบบการลอยกระทงที่เป็นศิลปวัฒนธรรมแทน มาจนถึง ยุควัตถุนิยมหัวก้าวหน้ามาเพิ่มความสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมแทน จึงเกิดรูปแบบใหม่ที่เน้นความสนุกสนานทางโลก ที่ไร้วัฒนธรรมและขาดศิลปะ

อย่างไรก็ดี เมื่อการค้ามาจับประเพณีมันก็อดชายแบบสินค้าไม่ได้ เมื่อนักธุรกิจมานั่งทำแผนเศรษฐกิจของชาติ รายได้ก็มาจากการขายทุกอย่างที่ไม่ใช่เงินลงทุนส่วนตัว กลับกลายเป็นวาทะที่ครั้งหนึ่ง กล้ากล่าวว่าการท่องเที่ยวคือการค้าที่ไม่มีต้นทุน ประเพณีกลายเป็นประเวณี แม้วันนี้ใครจะมีตำแหน่งลอยเหนือการแตะต้องก็ตามที และงานลอยกระทงกลายเป็นงานแสดงแบบนำเอาวัฒนธรรมของผู้คนในสังคมมาขายให้กับนักท่องเที่ยวที่มาจากภายนอก เป็นงานรื่นเริงแก่ผู้คนภายในที่ไม่มีหัวนอนปลายตีน มาปลดปล่อยและระบายสิ่งสารพัดของความหยาบคายอันเป็นอาจมของมนุษย์ชาติ เข้ามาในชุมชนทั้งจริงทั้งเสมือนจริง
วันนี้ก็น่าลอยสวะความคิด ก้อนไขมันเทาๆในกะโหลกไปใส่กระทงใหญ่ๆ ว่าแต่ทะเลที่ไหนอยากจะรับบ้าง









๒๓ มิถุนายน ครบวัฎฎะ

ดาวดารดาษดุจมณิเต็มผืนกำมะหยี่เหนือโพยมสีหมึก สีตลรัศมีที่ฉายเรื่อยอ่อนแสงหายไปหลังเมฆินทร์ เบื้องล่างสายนทีลัดเลาะแผ่นหิน ทุกโค้งคุ้งส...